สวัสดีค่ะวันนี้จะมาพูดถึงการเตรียมความพร้อมที่จะรับ ผู้ป่วยติดเตียง กลับบ้านนะคะ ถึงแม้ว่าญาติของเราจะเป็นผู้ป่วยติดเตียงแต่เป็นไปไม่ได้เลยที่ว่าคนไข้ของเราญาติของเราจะนอนโรงพยาบาลไปตลอดชีวิต อันนี้ไม่ได้นะคะโรงพยาบาลมีที่จำกัดสำหรับผู้ป่วยที่ฉุกเฉินเป็นมากต้องได้รับการดูแลอย่างดี ถ้าผู้ป่วยติดเตียงมีญาติสามารถให้การพยาบาลดูแลผู้ป่วยได้ ซึ่งต้องดูแลกันระยะยาว แล้วได้รับการสอนจากพยาบาลแล้วให้เรามาดูแลผู้ป่วยเองที่บ้านเรา จะต้องจดจำว่าเราจะทำอย่างไรดี เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรดี
วันนี้มาดูกันนะคะว่าเราจะทำอย่างไร คำว่า “ผู้ป่วยติดเตียง” อาจจะติดเตียงชั่วคราวอย่างเช่น ผ่าตัดข้อสะโพกต้องนอนอยู่บนเตียงใช้ชีวิตบนเตียงก็ชั่วคราว ถ้าแผลหายดีเดินได้เราก็ต้องหัดเดินแล้วก็เราก็จะไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือว่า เป็นผู้ป่วยติดเตียงค่อนข้างจะถาวรระยะยาว เราก็ต้องดูแลผู้ป่วยให้ดีนะคะ หรือว่าผู้ป่วยบางรายดูแล้วท่าทางจะติดเตียงถาวรเราก็ต้องดูแลเหมือนกัน เพราะว่าถึงแม้ว่าผู้ป่วยติดเตียงชั่วคราว ถ้าเราดูแลไม่ดีมีภาวะแทรกซ้อนเข้ามาก็อาจจะทำให้อาการที่เกิดกับผู้ป่วยติดเตียงชั่วคราวที่เรามองแล้วว่าน่าจะหายได้ ก็อาจจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงถาวรได้นะคะ
เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลทุกระยะของผู้ป่วยติดเตียงเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีภาวะแทรกซ้อนมากยิ่งขึ้น ทีนี้เรามาดูนะคะว่าผู้ป่วยติดเตียงมีภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง การแทรกซ้อนของผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากเลยก็จากการติดเชื้อ ติดเชื้ออะไรบ้าง เช่น ติดเชื้อจากแผลกดทับ เจ้าแผลกดทับถ้าเราดูแลไม่ดีก็จะเกิดแผลกดทับได้ง่ายเลยนะคะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะผู้ป่วยติดเตียงบางรายมี สายสวนนะคะถ้าเราดูแลไม่ดีก็จะทำให้การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากยิ่งขึ้น หรือว่าติดเชื้อทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคปอดบวมด้วยตัวเชื้อโรคเอง ที่คนธรรมดาก็สูดลมหายใจเข้าไปได้
ปอดติดเชื้อซึ่งเกิดจากการสำลักอาหารหรือว่าการขาดสารอาหาร ผู้ป่วยติดเตียงอาจจะทานอาหารได้น้อย คนดูแลก็ไม่รู้ก็คิดว่าคงไม่เป็นไร แต่ว่าถ้าคนธรรมดากินอาหารได้น้อยเราก็ยังกินจุกจิกอะไรได้ แต่ผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถจะเดินไปหยิบอาหารกินเองได้ ถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดการขาดสารอาหารได้นะคะ ที่นี้การดูแลหัวข้อใหญ่ๆของผู้ป่วยติดเตียงที่เราจะต้องเตรียมการให้ได้นะคะ คือ
1. การกิน การกินที่เราต้องดูเลยนะคะว่าผู้ป่วยติดเตียงของเรากินอาหารเองได้ไหม ถ้ากินอาหารเองได้แล้วก็ต้องดูให้ดีว่าอาหารที่กินนั้นสอดคล้องกับตัวโรคที่เป็นอยู่ เปล่า อย่างเช่นผู้ป่วยติดเตียงแต่ว่ามีโรคเดิมคือเบาหวานความดันเราก็ต้องดูว่าอาหารที่จะให้ผู้ป่วยกินนั้นก็ต้องน้ำตาลน้อยประมาณเท่าใด หรือว่าอาหารที่คนไข้ติดเตียงของเราได้กินสารอาหารต้องครบ เช่นมีโปรตีน มีคาร์โบไฮเดรต มีวิตามิน เราก็ต้องดูนะคะไม่ใช่กินซ้ำซากจำเจ ผู้ป่วยชอบแบบไหนก็ทำแบบนั้นกินซ้ำซากจำเจแบบนั้นก็จะได้สารอาหารอย่างหนึ่ง แต่ว่าก็จะขาดอาหารอีกอย่างนึงนะคะ แล้วที่สำคัญของการกินนะคะเวลาเราป้อนหรือเวลาเราให้ผู้ป่วยกินเอง เราต้องดูนะคะว่าคนไข้ที่กินแล้วจะต้องไม่สำลัก เพราะว่า ถ้ามีเศษอาหารเล็กๆเข้าไปทางเดินหายใจก็อาจจะทำให้ติดเชื้อทางเดินหายใจได้ หรือว่าถ้าเศษอาหารใหญ่ สำลักเข้าไปเศษอาหารอันนั้นก็ไปอุดกั้นทางเดินหายใจ อุดกั้นหลอดลม ทำให้คนไข้ขาดอากาศ ถึงแก่ชีวิตได้นะคะ
2. การนอน การนอนสำคัญมากเลยนะคะการนอนให้เราดูตั้งแต่แรกเลยว่าเวลากลับจากโรงพยาบาลปุ๊บเนี่ย เราก็ต้องดูเลยว่าถ้าคนไข้พลิกตะแคงตัวเองไม่ได้เราต้องเริ่มจับพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมงอย่างเคร่งครัดนะคะ เพราะว่าถ้าเราเพิกเฉยไม่ทำทุก 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วย อาจเป็นแผลกดทับได้ สังเกตได้จากผิวหนังจะเริ่มแดงๆก่อน หากพบแล้วต้องรีบทาวาสลีนเลยนะคะ อย่าให้รอยแดงๆกระจายเป็นแผลได้ลึกถึงชั้นใต้ผิวหนังได้นะคะ เราต้องหมั่นสังเกตเลยว่าการนอนของผู้ป่วยนอนหลับดีไหม โวยวายไหม และที่สำคัญต้องย้ำเลยนะคะเรื่องพลิกตะแคงตัว สำคัญที่สุดเลยเพราะว่าถ้าเกิดแผลกดทับขึ้นมาจะลำบากทั้งคนไข้และคนดูแล เพราะคนไข้ก็จะติดเชื้อจากแผลกดทับแล้วก็ทำให้แผลกดทับลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อลึกถึงกระดูกอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ ต้องดูแลต้องเอาใจใส่ตั้งแต่แรกที่กลับมาบ้านเลยนะคะ
3. การขับถ่าย การขับถ่ายทางอุจจาระก็ดีปัสสาวะก็ดีเราต้องดูแลให้เหมือนคนปกติ อุจจาระเราก็ต้องดูว่าคนไข้กี่วันยังไม่ถ่าย หรือถ่ายลักษณะอุจจาระที่ถ่ายมาสีดำไหม ถ้าสีดำก็อาจจะมีเลือดออกทางเดินอาหารหรืออะไรผิดปกติเราต้องสังเกตนะคะ หรือว่าท้องเสียถ้าท้องเสียนะอาจจะเป็นเพราะอาหารที่เราทำให้กิน หรือน้ำดื่มมีการติดเชื้อไหม เพราะว่าผู้ป่วยสูงอายุด้วยและติดเตียงด้วย ถ้าท้องเสียจะทำให้ขาดน้ำทำให้สารน้ำในร่างกายไม่สมดุลก็เกิดจะเกิดภาวะช็อกหรือว่าติดเชื้อได้นะคะ ถ้าถ่ายปัสสาวะคาสายสวนแล้วต้องดูแลสายสวนให้ดี เรื่องความสะอาดเราต้องหมั่นสังเกตว่าปัสสาวะออกมามีขาวขุ่นข้นมีกลิ่นเหม็นมากขนาดไหนเราจะได้ระมัดระวังถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วยนะคะ แล้วก็ความสะอาดของคนไข้ เราต้องดูแล สระผมหรือเปล่ากี่วันสระที ตัดเล็บออก เล็บมือเล็บเท้ามีกลิ่นเหม็นไหมเช็ดตัวอาบน้ำได้ไหม แปรงฟันเช็ดปากล้างปาก อันนี้คือสิ่งสำคัญทั้งหมดนะคะเพราะว่าถ้าสกปรกหมักหมม มันก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อติดเชื้อโรคได้นะคะร่างกายคนไข้อ่อนแอ เพราะฉะนั้นจะรับเชื้อโรคได้มากกว่าคนปกติ
ข้อสำคัญสุดท้ายเลยคิดว่าสำคัญที่สุดเลยก็คือสุขภาพจิต คำว่าสุขภาพจิตคือของคนดูแลและทั้งคนไข้ด้วย คนไข้ถ้ารู้สึกตัวดีเดิมเป็นปกติเดินได้ไปไหนมาไหนได้แล้ววันหนึ่งต้องกลายมาเป็นคนไข้ติดเตียงภาวะจิตใจเขาจะต้องกลุ้มใจมาก กลุ้มใจที่มาทำให้คนรอบข้างในบ้านเดือดร้อนเพราะเขา ก็ต้องปลอบใจดีๆว่าป่วยก็มีวันหายได้ เรามาช่วยกันดูแลร่วมใจทั้งเราทั้งญาติทั้งคนไข้ร่วมใจกันดูแลเขาจะได้หายเป็นปกติอย่าท้อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และญาติคนเฝ้าคนปกติในบ้านก็ดีซึ่งคนปกติบางครั้งบางคนก็มีโรคมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว และต้องมาเฝ้าไข้ด้วย
ก็ต้องดูแลกันให้ดีว่าคนไหนจะเฝ้าเวลาไหนต้องหมั่นดูแลทั้งคนป่วยแล้วก็คนเฝ้าด้วยนะคะ ท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทั้งคนดูแลและคนไข้ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและญาติผู้ป่วยติดเตียงทุกคนนะคะใครๆก็ไม่อยากป่วย ใครๆก็ไม่อยากติดเตียง ใครๆก็ไม่อยากมีญาติเป็นคนติดเตียง และใครๆก็เหมือนกันเราไม่ได้อยากชื่อว่าเป็นญาติผู้ป่วยติดเตียงถ้ามันเกิดเหตุขึ้นมาแล้วเราก็ต้องช่วยกันดูแลนะคะขอเป็นกำลังใจให้ทุกบ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียงนะคะ เป็นกำลังใจให้นะคะสู้ๆนะคะ